Blogger templates

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

งานวิจัย

งานวิจัยเรื่อง..ผลของการจัดประสบการณ์เสริมทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย


คณะผู้วิจัย
คุณสุวิทย์  วรรณศรี
คุณสมบูรณ์  พานิชศิริ
สังกัด มหาวิทยาลัยราชภัฏเพรชบูรณ์


ความมุ่งหมายของการศึกษา

1.เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน ก่อนและหลังการทดลอง
2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์แบบปกติ ก่อนและหลังการทดลอง
3.เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน กับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์แบบปกติ


ขอบเขตของการวิจัย

1.ประชากร : ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนเมืองเพชรบูรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1
2.กลุ่มตัวอย่าง : เป็นเด็กนักเรียนชาย - หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 30 คน แล้วจับฉลากเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน



นิยามศัพท์เฉพาะ

ทักษะการสังเกต หมายถึง ความสามารถในการรับรู้ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้นและการจับต้อง ซึ่งวัดโดยแบบประเมินทักษะการสังเกตที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเกี่ยวกับ
1.คุณลักษณะของวัตถุ หมายถึง ลักษณะทางกายภาพของวัตถุเกี่ยวกับรูปทรง เสียง รสชาติ กลิ่น และลักษณะพื้นผิว
2.คุณลักษณะของวัตถุ หมายถึง การคะเนหรือประเมินลักษณะของวัตถุสิ่งของเกี่ยวกับขนาดและปริมาณ
3.คุณลักษณะของวัตถุ หมายถึง การเปลี่ยนลักษณะทางกายภาพที่สามารถเห็นได้อันได้แก่ สี ตำแหน่ง เสียง รสชาติ กลิ่น และรูปร่าง



วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า

สุ่มนักเรียน 30 คน โดยวิธีการจับฉลาก กำหนดเป็นกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน ดังนี้
กลุ่มทดลอง : ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน
กลุ่มควบคุม : ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์แบบปกติ



เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

1.แผนการจัดประสบการณ์
2.แบบประเมินทักษะการสังเกต : ประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับการสังเกต 3 คำถาม ดังนี้
     คำถามที่ 1 ด้านคุณลักษณะ
     คำถามที่ 2 ด้านการกะประมาณ
     คำถามที่ 3 ด้านการเปลี่ยนแปลง


การดำเนินกิจกรรมในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ใช้เนื้อหาในหน่วยเดียวกันต่างกันที่การจัดกิจกรรมดังนี้


 กลุ่มทดลอง
(จัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์
นอกชั้นเรียน)
 กลุ่มควบคุม
(จัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์
แบบปกติ)
 ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 
             ครูบอกจุดประสงค์ของการศึกษา                    ประจำวัน

ขั้นที่ 2 ขั้นกิจกรรม
            : ครูพาเด็กออกไปศึกษาในสถานที่ ที่               กำหนดไว้ตามจุดประสงค์
            : ครูให้เด็กสังเกตวัตถุหรือเหตุการณ์               โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 
            : ครูถามคำถามเพื่อโยงเกี่ยวกับ                       ทักษะการสังเกตตามจุดประสงค์                     ของแต่ละกิจกรรมในด้าน
                    - คุณลักษณะ
                    - การกะประมาณ
                    - การเปลี่ยนแปลง

ขั้นที่ 3 ขั้นสรุปผล
            เป็นขั้นที่เด็กและครูสรุปผลการสังเกตจากกิจกรรม โดยใช้สถานที่ศึกษาหรือใกล้เคียงตามความเหมาะสม
 ขึ้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
              ครูบอกจุดประสงค์ของการศึกษา                   ประจำวัน

ขั้นที่ 2 ขั้นกิจกรรม
             ครูใช้กิจกรรมการอธิบาย เล่านิทาน                การศึกษานอกสถานที่ การอภิปราย                การสาธิต การเล่นเกม และการ                        ทดลอง

ขั้นที่ 3 ขั้นสรุปผล
             เด็กและครูร่วมกันสรุปผลการสังเกต              จากกิจกรรม


สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

- หาค่าเฉลี่ยของคะแนน
- การเปรียบเทียบความต่างของคะแนนเฉลี่ยระหว่าง 2 กลุ่ม



ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

แสดงให้เห็นว่า ก่อนการทดลองเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์แบบปกติมีทักษะการสังเกตหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง


สรุปผลการทดลอง

ข้อสังเกตที่ได้จากการวิจัย
1.เนื่องจากรูปแบบการจัดประสบการณ์นอกชั้นเรียนโดยการให้เด็กได้สัมผัส สังเกตกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมโดยตรงเด็กยังไม่คุ้นเคย ดังนั้นในระยะแรกๆของการทดลอง เด็กจึงยังไม่ค่อยกล้าลงมือกระทำกิจกรรมนอกเหนือจากที่ครูแนะนำ แต่เมื่อครูใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กคิด ให้เด็กสังเกต พบว่า เด็กกล้าแสดงออก กล้าคิด และมีวิธีการสังเกตนอกเหนือจากที่ครูแนะนำมากขึ้น
2.จากการศึกษาในเด็กกลุ่มทดลอง พบว่า นอกจากเด็กจะมีทักษะการสังเกตมากขึ้นแล้ว ยังพบว่าการจัดประสบการณ์นี้มีส่วนส่งเสริมให้เด็กมีระเบียบวินัย เช่น การเดินแถว มีการให้ความร่วมมือต่อกลุ่มมากขึ้น โดยการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน เช่น แว่นขยาย

บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

รายการ..บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย (12 กุมภาพันธ์ 2555)

การทดลองเกี่ยวกับการลำเลียงน้ำด้วยกระดาษชิชชู่

เอ๊!!! เราจะรู้มั๊ยนะ ว่ากระดาษชิชชู่มีความมหัศจรรย์อะไรซ่อนอยู่?

การทดลองจากรายการนี้เป็นการทดลองที่ให้เด็กๆมีส่วนร่วมในกิจกรรมการทดลองด้วย จะให้เด็กได้คิด โดยการนำแก้ว 2 ใบมา แก้วใบที่ 1 ใส่น้ำ แก้วใบที่ 2 ไม่ต้องใส่น้ำ แล้วใช้คำถามที่ชวนให้เด็กๆได้คิด ได้ตั้งสมมติฐานเองว่า "เราจะย้ายน้ำจากแก้วใบที่ 1 มาสู่แก้วใบที่ 2 จะทำอย่างไร โดยมีข้อแม้ว่า ห้ามยกแก้วขึ้น" แล้วก็ถามเด็กต่ออีกว่า "ปกติเราใช้กระดาษชิชชู่ทำอะไร?" เด็กๆก็จะตอบว่า "ใช้ซับน้ำ"บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย 



พิธีกรจึงลองหยดน้ำลงบนพื้นโต๊ะ แล้วให้เด็กใช้กระดาษซับน้ำ และถามต่ออีกว่า "ตอนนี้กระดาษชิชชู่เป็นอย่างไร?" "แล้วทำไมน้ำถึงไปอยู่ในกระดาษชิชชู่?" เป็นการฝึกทักษะการสังเกตของเด็ก

ในขั้นตอนการทดลอง พิธีกรจะแจกอุปกรณ์ทำการทดลองให้กับเด็ก หลังจากแจกอุปกรณ์เสร็จแล้ว พิธีกรถามเด็กๆว่า "เราจะนำน้ำจากแก้วใบที่ 1 ไปอยู่ในแก้วใบที่ 2 อย่างไร" เด็กๆตอบว่า "ใช้กระดาษชิชชู่" พิธีกรจึงถามต่ออีกว่า "แล้วใช้กระดาษชิชชู่ทำอย่างไร" เป็นคำถามที่ชวนให้เด็กได้ลองคิด หลังจากนั้นจึงให้เด็กลงมือปฏิบัติในการทดลองครั้งนี้เอง โดยพิธีกรจะเป็นผู้คอยแนะนำเท่านั้น

เรามาดูความสนุกของการทดลองครั้งนี้ด้วยวีดีโอจากรายการนี้กันค่ะ ^__^








บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 15

สอบกลางภาคของมหาวิทยาลัย

สัปดาห์นี้เป็นการสอบกลางภาคของมหาวิทยาลัยค่ะ
วันที่ 10 เดือนตุลาคม พ.ศ.2557


วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 14

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 14

อบรมการเขียนแผนการจัดประสบการณ์

ในการอบรมครั้งนี้อาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรมยกตัวอย่างหน่วยการเรียนที่ตนเองสนใจพร้อมลองเขียนแผนการสอนคร่าวๆ ว่าจะเขียนในลักษณะใด

หน่วยมด



ประสบการณ์ที่เด็กจะได้รับคือ....

1.เรียนรู้เรื่องมดที่เป็นธรรมชาติหรือเป็นสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
2.แยกแยะชนิดของมด
3.เด็กได้สังเกตลักษณะของมด
4.หาความสัมพันธ์ความเหมือน ความต่างของมด โดยใช้ยูเนี่ยน
5.เด็กสำรวจและศึกษาลักษณะของมด
6.เด็กอธิบาย บอก จัดหมวดหมู่หรือบันทึก ประโยชน์และโทษเรื่องของมดได้

บูรณาการทักษะรายวิชา

คณิตศาสตร์ : การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ การวัด
วิทยาศาสตร์ : การสังเกต การจำแนก การทดลอง การลงความคิดเห็น
สังคมศึกษา : การทำงานร่วมกับผู้อื่น การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน
พลศึกษา/สุขศึกษา : ความสะอาด การดูแลตัวเอง
ศิลปะสร้างสรรค์ (กิจกรรมพิเศษ) : วาดภาพ ประดิษฐ์ ตัดปะ
ภาษา : การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 13

กิจกรรมกลุ่ม : ทำแผ่นพับการจัดหน่วยการเรียนรู้ที่ส่งถึงผู้ปกครอง







ความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม
1.ได้เทคนิคการเขียนคำพูดที่ใช้ในแผ่นพับว่าควรเขียนเป็นคำที่ง่ายๆ ไม่ควรเป็นคำที่ใช้เป็นทางการมา
2.เข้าในหลักในการเขียนเนื้อหาในแผ่นพับมากขึ้น
3.ได้เทคนิคในการจัดเกมส์การเล่นให้กับเด็กว่าผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเล่นเกมส์กับเด็กด้วย


หลักการใช้คำถามเพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์





บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 12

คาบเรียนนี้อาจารย์ได้ให้ส่งสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง แล้วเเยกประเภทการสอนว่าสิ่งประดิษฐ์นั้นสามารถนำไปสอนในเรื่องใด

สิ่งประดิษฐ์กลุ่มนี้สอนเรื่อง...เสียง



สิ่งประดิษฐ์กลุ่มนี้สอนเรื่อง...แรงลม



สิ่งประดิษฐ์กลุ่มนี้สอนเรื่อง...แรงดันน้ำ



สิ่งประดิษฐ์กลุ่มนี้สอนเรื่อง...แรงโน้มถ่วง



สิ่งประดิษฐ์นี้สอนเรื่อง...แรงและการเคลื่อนที่




กิจกรรมการทำอาหาร (cooking)
อาหารที่ได้ทำวันนี้คือ..วาฟเฟิล








เทคนิคการสอนทำอาหารให้กับเด็ก

1.การสอนเด็กให้ทำอาหารควรมีผู้ดูแลทุกโต๊ะ
2.ตั้งคำถามเพื่อฝึกการสังเกต เช่น เด็กๆลองดูสิคะว่าวันนี้เราจะมาทำอะไรกัน?
3.ตั้งคำถามเกี่ยวกับวัตถุดิบ เพื่อให้เด็กตอบว่าวัตถุดิบที่นำมานั้นสามารถทำอาหารอะไรได้บ้าง?
4.ครูบอกว่าวันนี้จะทำอาหารอะไร
5.ครูแบ่งวัตถุดิบแยกออกใส่ภาชนะไว้
6.ครูบอกขนาดวัตถุดิบที่จะทำอาหาร 
7.ให้เด็กลงมือปฏิบัติตามโต๊ะต่างๆ



นำเสนอวิจัยและความรู้จากรายการโทรทัศน์ครู

1.วิจัย : ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2
2.วิจัย : การพัฒนาชุดการสอนหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ ชั้นอนุบาล 2

3.วิจัย : ความสามารถในการวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการะบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
4.วิจัย : การพัฒนาทักษะพื้นฐานในการจัดกิจกรรมทำน้ำสมุนไพร
5.โทรทัศน์ครู : กิจกรรมส่องนกนอกห้องเรียน 
                          -เป็นการเรียนรู้จากธรรมชาตินอกห้องเรียน
                          -เรียนรู้ความแตกต่างของนก เช่น สี เสียง ที่อยู่อาศัย
                          -ได้ทักษะทางวิทยาศาสตร์คือ การสังเกต การจำแนกประเภท การลงความเห็นจากข้อมูล

6.โทรทัศน์ครู : สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์
                          -ให้เด็กแสดงบทบาทสมมติเป็นนักสืบ
                          -เด็กที่มีจิตวิทยาศาสตร์จะมีลักษณะช่างซักถาม ช่างสังเกต
                          -การส่งเสริมคือ จัดกิจกรรมให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง

7.โทรทัศน์ครู : จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย
                          -เป็นการสอนเรื่องเสียงจากสื่อ ไก่กระต๊าก พบว่าเสียงจะมีเสียงก้อง เสียงแหลม และเสียงเกิดจากอากาศในแก้วสั่นสะเทือน





บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 11

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 11

คาบเรียนนี้อาจารย์ได้ให้นำเสนอแผนการสอนเพิ่มเติม

หน่วยแปรงสีฟัน เรื่อง..ชนิดของแปรงสีฟัน


คำคล้องจองชนิดของแปรงสีฟัน

แปรงสีฟันมีหลายชนิด     แต่ละชนิดมีดีต่างกัน
แปรงสีฟันไฟฟ้านั้น          รวดเร็วพลันใช้ได้อย่างดี
แปรงสีฟันผู้ใหญ่ก็มี         สะอาดดีเมื่อเราแปรงฟัน


หน่วยผีเสื้อ เรื่อง..ลักษณะของผีเสื้อ

1.มีปีก 2 ข้าง
2.มีหนวด 2 ข้าง
3.มีลำตัวเป็นรูปวงรี
4.มีลายปีกที่แตกต่างกัน และมีหลายสี
5.มีตา 2 ข้าง

หน่วยกล้วย เรื่อง..ชนิดของกล้วย



ชนิดของกล้วย
1.กล้วยไข่
2.กล้วยน้ำว้า
3.กล้วยหอม
4.กล้วยตานี
5.กล้วยส้ม
ฯลฯ

กิจกรรมทำอาหาร (cooking)
อาหารที่ได้ทำวันนี้คือ..ทาโกยากิ








เทคนิคการสอนทำอาหารให้กับเด็ก

1.การสอนเด็กให้ทำอาหารควรมีผู้ดูแลทุกโต๊ะ
2.ตั้งคำถามเพื่อฝึกการสังเกต เช่น เด็กๆลองดูสิคะว่าวันนี้เราจะมาทำอะไรกัน?
3.ตั้งคำถามเกี่ยวกับวัตถุดิบ เพื่อให้เด็กตอบว่าวัตถุดิบที่นำมานั้นสามารถทำอาหารอะไรได้บ้าง?
4.ครูบอกว่าวันนี้จะทำอาหารอะไร
5.ครูแบ่งวัตถุดิบแยกออกใส่ภาชนะไว้
6.ครูบอกขนาดวัตถุดิบที่จะทำอาหาร 
7.ให้เด็กลงมือปฏิบัติตามโต๊ะต่างๆ เช่น เด็กประจำโต๊ะเติมเครื่องปรุง เติมไข่ เติมข้าว และเด็กประจำโต๊ะทอดทาโกยากิ


นำเสนอวิจัย

1.เรื่อง..การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา
2.เรื่อง..ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย
3.เรื่อง..ผลของการจัดประสบการณ์เสริมทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 10

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 10

คาบเรียนนี้อาจารย์ได้ให้นำเสนอแผนการสอนในหน่วยการเรียนรู้ต่างๆ

กลุ่มที่ 1 หน่วยกบ เรื่อง..ส่วนประกอบของกบ


ส่วนประกอบของกบ
1.ตา
2.หัว
3.ปาก
4.ขา
5.เท้า


กลุ่มที่ 2 หน่วยกะหล่ำปลี เรื่อง..ประโยชน์และข้อควรระวัง


ประโยชน์ของกะหล่ำปลี
1.มีวิตามิน
2.ใช้ประกอบอาหาร
3.ทำให้เกิดอาชีพ

ข้อควรระวัง
ก่อนนำไปประกอบอาหารควรล้างให้สะอาดเพราะอาจมีเศษดินและสารปนเปื้อน


กลุ่มที่ 3 หน่วยส้ม เรื่อง..ประโยชน์ของส้ม


ประโยชน์ของส้ม
1.ทำเค้กส้ม
2.น้ำส้มคั้น **เพื่อนๆได้นำอุปกรณ์ต่างๆมาสาธิตการทำน้ำส้มคั้น


กลุ่มที่ 4 หน่วยมะลิ เรื่อง..ประโยชน์ของมะลิ


ประโยชน์ของมะลิ
1.ลอยในน้ำเปล่าเพื่อเพิ่มความหอม
2.ทำพวงมาลัย
3.ประกอบอาหาร **เพื่อนๆได้นำอุปกรณ์ต่างๆมาสาธิตการทำดอกมะลิทอดกรอบ


กลุ่มที่ 5 หน่วยไก่ เรื่อง..ที่อยู่-อาหาร-การดูแลรักษา


เพื่อนๆร่วมกันทำกิจกรรมเต้นเพลงไก่

ที่อยู่อาศัยของไก่ : ในเล้า ในป่า
อาหารของไก่ : ข้าวเปลือก ข้าวโพด ไส้เดือน เมล็ดข้าวสาร
การดูแลรักษา : ฉีดวัคซีน


กลุ่มที่ 6 หน่วยปลา เรื่อง..ประโยชน์ของปลา



ประโยชน์ของปลา
1.เลี้ยงไว้ดูเล่น
2.ทำให้เกิดอาชีพ
3.ประกอบอาหาร **เพื่อนๆได้นำอุปกรณ์ต่างๆมาสาธิตการทำทอดปลาทู

ประโยชน์จากกิจกรรมการนำเสนอแผนการสอนหน่วยต่างๆ
1.นำเทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียนไปปรับใช้ในการเรียนและการทำกิจกรรม
2.ได้ความรู้เพิ่มเติมของเนื้อหาในหน่วยต่างๆ
3.ได้เทคนิคลำดับการประกอบอาหารเพื่อนำไปสอนเด็กให้มีความปลอดภัย

วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 9

คาบเรียนนี้เป็นคาบเรียนที่มาเรียนชดเชยอาจารย์ได้สอนเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องการเขียนแผนการสอนในหน่วยต่างๆ





วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อากาศมหัศจรรย์

อากาศมหัศจรรย์


     รอบๆตัวเรามีสิ่งที่เรียกว่า "อากาศ" อยู่ มนุษย์ สัตว์ พืช ก็ต้องใช้อากาศในการหายใจ และอากาศสามารถอยู่ได้ทุกที่ถึงเรามองไม่เห็น ก็มีอยู่จริงๆ ถึงแม้อากาศไม่มีขนาด รูปร่าง แต่อากาศจะแทรกตัวอยู่ได้ทุกพื้นที่ อากาศมีตัวตนจริงๆและต้องการที่อยู่ แต่ถ้ามีอะไรมาแทนที่อากาศในบริเวณนั้น อากาศจะเคลื่อนตัวออกไปทันที เราจึงไม่รู้สึกว่ามีอากาศอยู่รอบๆตัวเราเพราะอากาศก็ต้องการพื้นที่อยู่

     อากาศ จะมีน้ำหนักขึ้นอยู่กับอากาศร้อนกับอากาศเย็น (อากาศมีน้ำหนักด้วยหรือ?)
     อากาศร้อนจะมีน้ำหนักเบากว่าอากาศเย็น หลักการนี้เรานำไปผลิตบอลลูนให้ลอยขึ้นบนฟ้าได้ โดยภายใต้ผ้าที่เรานำมาใช้เป็นตัวบอลลูน จะมีการจุดไฟเผาให้อากาศภายในตัวบอลลูนนั้นร้อน จนสามารถยกตัวบอลลูนขึ้นไปได้และถ้ายิ่งอยากให้ลอยสูงขึ้น เราก็เร่งไฟให้แรงกว่าเดิม เพื่ออากาศในตัวบอลลูนจะได้ร้อนขึ้นแล้วทำให้บอลลูนลอยสูงขึ้นไปด้วย



     ในอากาศร้อนมีอะไรเกิดขึ้นอีกบ้าง?
     ในอากาศจะมีการปรับสมดุลตลอดเวลา อากาศร้อนที่เบากว่าจะพยายามลอยขึ้นไปหาอากาศเย็น เพื่อลดความร้อนของตัวเอง ส่วนอากาศเย็นที่หนักกว่าจะลอยมาสวนทางกับอากาศร้อนเพื่อปรับสภาพของตนให้กลายเป็นอากาศที่อบอุ่นนั่นเอง และการที่อากาศร้อนและเย็นเคลื่อนที่ไปมา จึงทำให้เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติขึ้นชนิดหนึ่งที่เราเรียกว่า "ลม" นั่นคือการเคลื่อนที่ของอากาศร้อนและเย็นทำให้เกิด "ลม" นั่นเอง

     เมื่อมีลมพัดผ่านตัวเรา ทำไมเราจึงรู้สึกเย็น?
     เพราะอากาศเย็นจะเคลื่อนที่เข้ามาแทนอากาศร้อน คือลมที่พัดผ่านไปแล้วจึงทำให้เรารู้สึกเย็นสบาย ลมก็คืออากาศเย็นที่พัดเข้ามา

     แล้วลมพัดเข้ามาในห้องของเราได้อย่างไร?
     บนพื้นโลกของเราจะมีลมพัดผ่านเข้ามาตลอดเวลาอยู่แล้ว ก็เพราะบนพื้นโลกของเราแต่ละแห่งจะมีความร้อนไม่เท่ากัน ตัวอย่างเช่น ขณะที่เรายืนอยู่ริมทะเลตอนกลางวันจะมีลมพัดเข้ามาจากทะเลตลอดเวลา ซึ่งลมที่พัดเข้ามาก็มีสาเหตุจากอากาศบนพื้นดินในตอนกลางวันร้อนกว่าผิวน้ำมาก ดังนั้นอากาศร้อนบนพื้นดินจึงลอยตัวสูงขึ้นไปและอากาศเย็นจากผิวน้ำจึงพัดเข้ามาแทนที่ แสดงว่าบนโลกของเราจะมีลมเกิดขึ้นตลอดเวลา ขึ้นกับว่าในแต่ละที่นั้นมีความร้อนและเย็นต่างกันแค่ไหน



     ลม สามารถเปลี่ยนทิศทางไปตามวัตถุที่ขวางทางอยู่ได้ ซึ่งก็เป็นกรณีเดียวกันกับลมที่พัดเข้ามาจากข้างนอกพุ่งเข้ามาชนกับตัวบ้านของเรา กระแสลมก็จะกระจายออก แล้วพุ่งผ่านด้านข้างบ้านของเราไป แต่ถ้าบ้านของเราเปิดหน้าต่าง กระแสลมก็จะพุ่งผ่านหน้าต่างเข้ามาในห้องของเรา แล้วถึงจะระบายออกไปตามช่องระบายอากาศต่างๆ

คุณสมบัติของลมที่เรานำมาใช้ประโยชน์
     แรงดันอากาศ
     แรงดันอากาศ คือ แรงที่อากาศกดลงยังพื้นผิวของวัตถุต่างๆได้ ซึ่งแรงดันของอากาศเป็นคุณสมบัติหลักและสำคัญมากที่มนุษย์นำมาใช้ ซึ่งแรงดันอากาศมีพลังมากมายจนสามารถยกหนังสือได้ด้วย ก็เพราะใช้หลักของแรงดันอากาศ แรงดันอากาศสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของเรามากมายเช่น การเจาะรูบนกระป๋องนม จะต้องเจาะยังไงถึงจะมีนมไหลออกมา หลอดดูดน้ำ หลอดหยดน้ำ

     อากาศร้อนกับอากาศเย็น แบบใดจะมีแรงดันอากาศมากกว่ากัน?
     เป็นอากาศเย็น เพราะว่า อากาศร้อนจะมีแรงดันต่ำทำให้อากาศเย็นซึ่งมีแรงดันสูงกว่า จึงพยายามดันเข้าไปแทนที่ 

     อากาศที่เคลื่อนที่กับอากาศที่อยู่นิ่งๆ เกี่ยวข้องอย่างไรกับความดันอากาศ?
     อากาศที่เคลื่อนที่จะมีความดันน้อยกว่าอากาศที่อยู่นิ่งๆ เพราะอากาศที่เคลื่อนที่จะมีแรงดันอากาศลดลง ทำให้อากาศที่อยู่ด้านข้างที่อยู่นิ่งๆมีแรงดันอากาศมากกว่า ตามหลักนี้มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ เช่น นำมาใช้สร้างปีกของเครื่องบิน และเครื่องร่อน

แรงต้านอากาศ
     แรงต้านอากาศ คือ แรงที่อากาศต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆ เช่น เวลารถวิ่งก็จะลมพัดสวนมา ลมที่สวนมาก็คือ แรงที่อากาศพยายามต้านไม่ให้รถวิ่งไปข้างหน้า

     อากาศ มีประโยชน์มากมายและสำคัญกับเรามาก นอกจากเราจะใช้อากาศหายใจ ยังทำให้เกิดลม แล้วเรายังนำคุณสมบัติต่างๆของอากาศมาใช้เป็นหลักในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ต่างๆได้มากมายอีกด้วย

วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ความลับของแสง

ความลับของแสง

ความสำคัญของแสงสว่าง : ทำให้เราสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆได้ ถ้าไม่มีแสงโลกของเราก็จะอยู่ในความมืด
แสง เป็นคลื่นชนิดหนึ่ง เป็นคลื่นที่เป็นความยาวคลื่นสั้นมาก สามารถเคลื่อนที่เร็วมาก คือ 300,000 km/s ถ้าเราสามารถวิ่งเร็วเท่าแสง เราจะสามารถวิ่งรอบโลกได้ 7 รอบ ในเวลาเพียง 1 วินาที
แสง จะช่วยในการมองเห็นของเราได้อย่างไร?
แสงส่องลงมาโดนวัตถุต่างๆ แล้วแสงต้องสะท้อนจากวัตถุนั้นเข้ามาสู่ตาของเรา เราจึงจะมองเห็นวัตถุนั้น ซึ่งเท่ากับว่าตาของเราก็คือจอสำหรับรับแสง ที่สะท้อนเข้ามาจากวัตถุ
แสง มาจากที่ไหนบ้าง?
แสงมาจากดวงอาทิตย์ สิ่งประดิษฐ์ เช่น หลอดไฟ ไฟฉาย เป็นต้น


คุณสมบัติของแสง

1.การเดินทางของแสง(การเคลื่อนที่ของแสง) : แสงจะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงอย่างเดียวและไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงไปจนถึงวัตถุที่มากั้นทางเดินของแสงและแสงจะถูกวัตถุนั้นสะท้อนกลับมาเป็นเส้นตรงแบบเดิม เข้าสู่ตาของเรา
วัตถุที่แสงผ่านได้ : วัตถุบนโลกที่มีแสงมากระทบจะมีคุณสมบัติแตกต่างกัน 3 แบบคือ
แสงทะลุผ่านได้และสะท้อนกลับมาที่ตาได้ ทำให้เราสามารถมองทะลุวัตถุนั้นได้และมองเห็นรูปร่างของวัตถุนั้น เรียกว่า วัตถุโปร่งแสง และวัตถุโปร่งใส ส่วนวัตถุที่ดูดกลืนแสงบางส่วนไว้ และสะท้อนแสงที่เหลือเข้าสู่ตาเรา เราเรียกว่า วัตถุทึบแสง ซึ่งเป็นวัตถุส่วนใหญ่ที่อยู่บนโลกของเรา เช่น ไม้ หิน เหล็ก ตัวเรา
ทำไมต้องแยกวัตถุโปร่งแสงกับวัตถุโปร่งใส? : เพราะวัตถุโปร่งแสงแสงจะทะลุไปได้แค่บางส่วนเท่านั้น เราจึงมองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่หลังวัตถุโปร่งแสงได้ไม่ชัดเจน เช่น กระจกฝ้า พลาสติกสีขุ่น สำหรับวัตถุโปร่งใสจะเป็นวัตถุที่แสงผ่านได้ทั้งหมด ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่ข้างหลังได้ชัดเจน เช่น กระจกใส พลาสติกใส ดังนั้นวัตถุทั้งสองจะแตกต่างกันตรงที่ แสงสามารถผ่านไปได้มากหรือผ่านไปได้น้อย

ประโยชน์ของการเดินทางของแสง
1.) จากการเคลื่อนที่ที่เป็นเส้นตรงของแสง เรานำมาใช้ทำกล้องฉายภาพแบบต่างๆ ตัวอย่างเครื่องฉายภาพนิ่งง่ายๆ คือ กล้องรูเข็ม ภาพที่เกิดขึ้นจากกล้องจะเป็นภาพกลับหัว เพราะแสงเดินทางเป็นเส้นตรง เมื่อผ่านรูเล็กๆภาพที่ได้จึงเป็นภาพกลับหัว แสงส่วนบนของภาพวิ่งเป็นเส้นตรง ผ่านรูเล็กๆมากระทบที่ด้านล่างของกระดาษและแสงส่วนล่างของภาพก็วิ่งผ่านตรงรูเล็กๆมาตกกระทบที่ด้านบนของกระดาษ ภาพที่เราเห็นจึงเป็นภาพกลับหัว ซึ่งถ้ามีรูเพิ่มขึ้นที่กล่อง 2 รู ก็จะปรากฏภาพขึ้น 2 ภาพ ถ้าเจาะหลายๆรูก็จะปรากฏภาพขึ้นหลายๆภาพเช่นกัน
ลูกตาของเรามีรูด้วย?? : เราเรียกว่า รูรับแสง เหมือนรูที่กล่องกระดาษ (กล้องรูเข็ม) และภาพที่ผ่านรูรับแสงที่ตาเราก็จะเป็นภาพกลับหัวเหมือนกัน และหลักการนี้ เราจึงนำมาทำกล้องถ่ายรูป
แล้วทำไมเราจึงเห็นสิ่งต่างๆเป็นปกติ (ไม่กลับหัว)?? : นั่นก็เพราะว่าสมองของเราจะกลับภาพให้เป็นปกติโดยอัตโนมัติ


2. การสะท้อนของแสง : คือการสะท้อนของแสงจากวัตถุเข้ามาที่ตาเรา
การสะท้อนของแสงจะทำให้เกิดอะไรขึ้นบ้าง ??
การสะท้อนของเเสง : เมื่อแสงสะท้อนจากวัตถุต้องพุ่งไปยังทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางของแสงที่ส่องลงมาเสมอ และที่เป็นแบบนี้ก็เพราะลำแสงที่สัมผัสกับพื้นผิวของวัตถุแล้วสะท้อนกลับนั้นจะเป็นมุมที่เท่ากันกับลำแสงที่ส่องลงมาเสมอ

ประโยชน์ของการสะท้อนของแสง
- ประดิษฐ์กล้องคาไรโดสโคป ทำให้เกิดภาพสะท้อนขึ้นมากมาย เพราะใช้หลักการสะท้อนของแสงและมุมประกบของกระจก เมื่อแสงกระทบในกระบอกทรง 3 เหลี่ยม ภาพก็จะสะท้อนไปสะท้อนมาในนั้น จึงทำให้เกิดภาพมากมาย
หลักของการสะท้อนแสง ยังนำมาใช้ประโยชน์ในการมองหาวัตถุที่ไม่สามารถมองเห็นในที่สูงๆได้เช่น กล้องส่องภาพเหนือระดับสายตา หรือกล้องเปริสโคป เรานำมาใช้เป็นกล้องส่องดูวัตถุที่อยู่เหนือน้ำของเรือดำน้ำ

3. การหักเหของแสง : คือ แสงจะเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนที่ เช่น เมื่อเราลองฉายแสงในแนวเฉียงลงในตู้ที่มีน้ำแสงจะเกิดการหักงอ เพราะว่าแสงเดินผ่านวัตถุ (ตัวกลาง) คนละชนิดกัน เช่น เมื่อแสงเดินทางผ่านจากอากาศเข้าสู่ตู้กระจกที่มีน้ำ น้ำจะมีความหนาแน่นกว่าอากาศทำให้แสงเคลื่อนที่ไปได้ช้ากว่าในอากาศ เส้นทางเดินของแสงจึงหักเหไปด้วย จากนั้นเมื่อแสงพุ่งจากน้ำเข้าสู่อากาศ แสงก็จะเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น เส้นทางการเคลื่อนที่ของแสงจึงกลับมาเป็นเหมือนเดิม
ลักษณะการหักเหของแสงนั้น จะหักเหเข้าหาแนวตั้งฉากกับผิวน้ำที่เรียกว่า "เส้นปกติ" ซึ่งเราฉายแสงผ่านน้ำไปตรงๆตั้งฉากกับผิวน้ำ แสงจะไม่หักเห เพราะแสงอยู่ในแนวของเส้นปกติพอดี แต่เมื่อเราฉายแสงทำมุมเฉียงกับผิวน้ำ แสงก็จะเกิดการหักเหเข้าหาเส้นปกติ ในทางกลับกัน เมื่อแสงเดินทางจากน้ำซึ่งมีความหนาแน่นมากออกสู่อากาศที่มีความหนาแน่นน้อย แสงก็จะหักเหออกจากแสงปกติเส้นกัน

ประโยชน์ของการหักเหของแสง
1.) ประดิษฐ์เลนส์แบบต่างๆ เลนส์คือแผ่นแก้วหรือแผ่นกระจกที่ทำให้ผิวหน้าโค้งนูนออกมาเพื่อใช้ประโยชน์ในการขยายภาพ รวมเส้นทางเดินของแสง โดยเลนส์ที่มีผิวโค้งนูนใช้รวมเส้นทางเดินของแสงได้ ทำให้เราใช้เลนส์นูนจุดไฟได้ จากการใช้เลนส์นูนรวมแสง ให้แสงกลายเป็นจุดเดียวกันความร้อนที่มากับแสงก็จะรวมเป็นจุดเดียวกันด้วย ซึ่งความร้อนนั้นก็มากพอที่จะเกิดการเผาไหม้ได้
2.) ช่วยให้เรามองเห็นได้ชัดเจน มองเห็นวิว แสง สีต่างๆได้ เช่น การที่เรามองเห็นรุ้งกินน้ำหลับฝนตก รุ้งกินน้ำที่เกิดขึ้นก็เกิดจากการหักเหของแสง ซึ่งปกติแสงขาวๆที่เรามองเห็นกันนั้น ประกอบไปด้วยสีต่างๆ 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง สีทั้ง 7 สี เมื่อรวมกันแล้วจะกล้ายเป็นสีขาว แต่เมื่อฝนตกใหม่ๆ จะมีละอองน้ำในอากาศ และเมื่อแสงผ่านละอองน้ำเหล่านั้น ก็จะเกิดการหักเหของแสง และปกติแล้วสีต่างๆในแสงจะมีความเร็วในการเคลื่อนที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นเมื่อมันส่องผ่านกับละอองน้ำจำนวนมากในอากาศจึงเกิดการหักเห ผลที่ตามมาก็คือ แสงขาวๆนั้นจะแยกตัวเป็นสีเดิมของมันทั้ง 7 สี ที่เราเรียกว่า "แถบสเปรคตรัมของแสง" และแถบสเปรคตรัมของแสงทั้ง 7 สีเราเรียกกันว่า "
รุ้งกินน้ำ" รุ้งกินน้ำจะเกิดในทิศทางตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์ในเวลาหลังฝนตกใหม่ๆ และเกิดการหักเหของแสงผ่านละอองน้ำในอากาศ
     
     แสงสีแดง เขียว น้ำเงิน เป็นแม่สีของแสงสว่าง และสีต่างๆก็เป็นตัวกลางสำคัญที่ทำให้เรามองเห็นวัตถุที่มีสีต่างกันด้วย
     แสงสีต่างๆเกี่ยวอย่างไรกับการที่เราเห็นวัตถุมีสีต่างกัน? : เพราะวัตถุในโลกนี้ต่างก็มีสีอยู่ในตัวของมันเอง เพราะฉะนั้นวัตถุแต่ละชนิดก็มีความสามารถในการสะท้อนแสงและการดูดกลืนแสงสีได้แตกต่างกัน เมื่อมีแสงมากระทบวัตถุก็จะดูดกลืนแสงสีบางสีเอาไว้และสะท้อนแสงสี ที่เป็นสีเดียวกับวัตถุออกมา เช่น ใบไม้จะดูดกลืนแสงสีอื่นๆเอาไว้ แล้วสะท้อนแสงที่เป็นสีเดียวกับตัววัตถุคือ สีเขียวออกมา ทำให้เราเห็นใบไม้ใบนั้นเป็นสีเขียว
เงา เป็นสิ่งที่คู่กันกับแสงเสมอ


แล้วเงากับแสงมีความสัมพันธ์กันอย่างไร? : เงาเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับแสงและเงาเกิดขึ้นได้เพราะเเสงเหมือนกัน
การเกิดเงา : เงาของวัตถุนั้นจะเกิดขึ้นได้จาก แสงที่เดินทางเป็นเส้นตรงไปเรื่อยๆ เมื่อมีวัตถุเข้ามาขวางทางเดินของแสงไว้ พื้นที่ด้านหน้าของวัตถุก็จะดูดกลืนและสะท้อนแสงบางส่วนออกมา แต่ว่าพื้นที่ด้านหลังของวัตถุนั้น แสงส่องไปไม่ถึง เลยไม่มีการสะท้อนแสงเกิดขึ้น จึงเกิดเป็นพื้นที่สีดำและพื้นที่สีดำนั้นที่เราเรียกว่า "เงา" และถ้าเราฉายแสงลงไปวัตถุหลายๆทางก็จะทำให้เกิดเงาของวัตถุขึ้นหลายๆด้าน เพราะฉะนั้นเงาจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีวัตถุมาขวางทางเดินของแสงไว้


the end


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 8


คาบเรียนนี้เป็นการนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดยเพื่อนๆได้นำของเล่นชนิดต่างๆมานำเสนอกันดังนี้
1. จรวด
2. กระป๋องดุ๊กดิ๊ก
3. นักดำน้ำ
4. กบกระโดด
5. บูมเมอแรง
6. ตุ๊กตาล้มลุก
7. เรือโจรสลัด
8. ไก่กระต๊าก
9. แท่นธนู
10. เขาวงกต
11. วงล้อมหัศจรรย์
12. รถลูกโป่ง
13. ลูกข่าง
14. รถของเล่น
15. ไหมพรมเต้นระบำ
16. ป๋องแป๋ง
17. โมบายสายรุ้ง
18. ขวดหนังสติ๊ก
19. จรวดจากหลอดกาแฟ
20. รถหลอดด้าย
21. จั๊กจั่น
22. กลอง
23. ประทัดกระดาษ
24. รถล้อเดียว
25. เป่าลมรถ
26. เรือใบ
27. ทะเลในขวดน้ำ
28. แก้วส่งเสียง
สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ของดิฉันคือ..หนูวิ่ง
อุปกรณ์

วิธีการทำ
เจาะรูด้านข้างของกะลาข้างละ 2 รู และด้านบน 1 รู
เจาะรูของเเลคซีนทั้ง 2 ข้าง ข้างละ 2 รู
นำยางมาผูกติดกันประมาณ 3 เส้น
นำยางมาสอดเข้ารูที่ได้เจาะไว้


นำยางผูกที่ด้านข้างของกะลาด้านหนึ่ง แล้วขดยางให้แน่น
นำอุปกรณ์มาตรึงกับยางข้างที่ขดเสร็จแล้ว
แล้วขดยางอีกด้านหนึ่งให้แน่น**(ต้องขดยางไปคนละด้าน)
นำเชือกมาผูกตรงกลางของแลคซีน แล้วนำปลายเชือกดึงขึ้นรูด้านบนของกะลา
ปล่อยยางให้หมุน แล้วเชือกจะพันรอบแลคซีนเอง
นำไม้มาผูกเชือกด้านบนของกะลาไว้ เพื่อไม่ให้เชือกหลุด

ตกแต่งหนูวิ่งตามใจชอบ

การนำสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ไปใช้จัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์
จากสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้สามารถนำไปจัดเรียนการสอนเรื่อง..แรงและการเคลื่อนที่
สอนให้เด็กรู้ว่าหนูวิ่งเคลื่อนที่ได้อย่างไร?  ทำไมถึงเคลื่อนที่ได้?
และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับศิลปะสร้างสรรค์ได้ด้วยค่ะ