Blogger templates

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

งานวิจัย

งานวิจัยเรื่อง..ผลของการจัดประสบการณ์เสริมทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย


คณะผู้วิจัย
คุณสุวิทย์  วรรณศรี
คุณสมบูรณ์  พานิชศิริ
สังกัด มหาวิทยาลัยราชภัฏเพรชบูรณ์


ความมุ่งหมายของการศึกษา

1.เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน ก่อนและหลังการทดลอง
2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์แบบปกติ ก่อนและหลังการทดลอง
3.เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน กับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์แบบปกติ


ขอบเขตของการวิจัย

1.ประชากร : ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนเมืองเพชรบูรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1
2.กลุ่มตัวอย่าง : เป็นเด็กนักเรียนชาย - หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 30 คน แล้วจับฉลากเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน



นิยามศัพท์เฉพาะ

ทักษะการสังเกต หมายถึง ความสามารถในการรับรู้ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้นและการจับต้อง ซึ่งวัดโดยแบบประเมินทักษะการสังเกตที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเกี่ยวกับ
1.คุณลักษณะของวัตถุ หมายถึง ลักษณะทางกายภาพของวัตถุเกี่ยวกับรูปทรง เสียง รสชาติ กลิ่น และลักษณะพื้นผิว
2.คุณลักษณะของวัตถุ หมายถึง การคะเนหรือประเมินลักษณะของวัตถุสิ่งของเกี่ยวกับขนาดและปริมาณ
3.คุณลักษณะของวัตถุ หมายถึง การเปลี่ยนลักษณะทางกายภาพที่สามารถเห็นได้อันได้แก่ สี ตำแหน่ง เสียง รสชาติ กลิ่น และรูปร่าง



วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า

สุ่มนักเรียน 30 คน โดยวิธีการจับฉลาก กำหนดเป็นกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน ดังนี้
กลุ่มทดลอง : ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน
กลุ่มควบคุม : ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์แบบปกติ



เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

1.แผนการจัดประสบการณ์
2.แบบประเมินทักษะการสังเกต : ประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับการสังเกต 3 คำถาม ดังนี้
     คำถามที่ 1 ด้านคุณลักษณะ
     คำถามที่ 2 ด้านการกะประมาณ
     คำถามที่ 3 ด้านการเปลี่ยนแปลง


การดำเนินกิจกรรมในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ใช้เนื้อหาในหน่วยเดียวกันต่างกันที่การจัดกิจกรรมดังนี้


 กลุ่มทดลอง
(จัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์
นอกชั้นเรียน)
 กลุ่มควบคุม
(จัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์
แบบปกติ)
 ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 
             ครูบอกจุดประสงค์ของการศึกษา                    ประจำวัน

ขั้นที่ 2 ขั้นกิจกรรม
            : ครูพาเด็กออกไปศึกษาในสถานที่ ที่               กำหนดไว้ตามจุดประสงค์
            : ครูให้เด็กสังเกตวัตถุหรือเหตุการณ์               โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 
            : ครูถามคำถามเพื่อโยงเกี่ยวกับ                       ทักษะการสังเกตตามจุดประสงค์                     ของแต่ละกิจกรรมในด้าน
                    - คุณลักษณะ
                    - การกะประมาณ
                    - การเปลี่ยนแปลง

ขั้นที่ 3 ขั้นสรุปผล
            เป็นขั้นที่เด็กและครูสรุปผลการสังเกตจากกิจกรรม โดยใช้สถานที่ศึกษาหรือใกล้เคียงตามความเหมาะสม
 ขึ้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
              ครูบอกจุดประสงค์ของการศึกษา                   ประจำวัน

ขั้นที่ 2 ขั้นกิจกรรม
             ครูใช้กิจกรรมการอธิบาย เล่านิทาน                การศึกษานอกสถานที่ การอภิปราย                การสาธิต การเล่นเกม และการ                        ทดลอง

ขั้นที่ 3 ขั้นสรุปผล
             เด็กและครูร่วมกันสรุปผลการสังเกต              จากกิจกรรม


สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

- หาค่าเฉลี่ยของคะแนน
- การเปรียบเทียบความต่างของคะแนนเฉลี่ยระหว่าง 2 กลุ่ม



ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

แสดงให้เห็นว่า ก่อนการทดลองเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์แบบปกติมีทักษะการสังเกตหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง


สรุปผลการทดลอง

ข้อสังเกตที่ได้จากการวิจัย
1.เนื่องจากรูปแบบการจัดประสบการณ์นอกชั้นเรียนโดยการให้เด็กได้สัมผัส สังเกตกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมโดยตรงเด็กยังไม่คุ้นเคย ดังนั้นในระยะแรกๆของการทดลอง เด็กจึงยังไม่ค่อยกล้าลงมือกระทำกิจกรรมนอกเหนือจากที่ครูแนะนำ แต่เมื่อครูใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กคิด ให้เด็กสังเกต พบว่า เด็กกล้าแสดงออก กล้าคิด และมีวิธีการสังเกตนอกเหนือจากที่ครูแนะนำมากขึ้น
2.จากการศึกษาในเด็กกลุ่มทดลอง พบว่า นอกจากเด็กจะมีทักษะการสังเกตมากขึ้นแล้ว ยังพบว่าการจัดประสบการณ์นี้มีส่วนส่งเสริมให้เด็กมีระเบียบวินัย เช่น การเดินแถว มีการให้ความร่วมมือต่อกลุ่มมากขึ้น โดยการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน เช่น แว่นขยาย

บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

รายการ..บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย (12 กุมภาพันธ์ 2555)

การทดลองเกี่ยวกับการลำเลียงน้ำด้วยกระดาษชิชชู่

เอ๊!!! เราจะรู้มั๊ยนะ ว่ากระดาษชิชชู่มีความมหัศจรรย์อะไรซ่อนอยู่?

การทดลองจากรายการนี้เป็นการทดลองที่ให้เด็กๆมีส่วนร่วมในกิจกรรมการทดลองด้วย จะให้เด็กได้คิด โดยการนำแก้ว 2 ใบมา แก้วใบที่ 1 ใส่น้ำ แก้วใบที่ 2 ไม่ต้องใส่น้ำ แล้วใช้คำถามที่ชวนให้เด็กๆได้คิด ได้ตั้งสมมติฐานเองว่า "เราจะย้ายน้ำจากแก้วใบที่ 1 มาสู่แก้วใบที่ 2 จะทำอย่างไร โดยมีข้อแม้ว่า ห้ามยกแก้วขึ้น" แล้วก็ถามเด็กต่ออีกว่า "ปกติเราใช้กระดาษชิชชู่ทำอะไร?" เด็กๆก็จะตอบว่า "ใช้ซับน้ำ"บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย 



พิธีกรจึงลองหยดน้ำลงบนพื้นโต๊ะ แล้วให้เด็กใช้กระดาษซับน้ำ และถามต่ออีกว่า "ตอนนี้กระดาษชิชชู่เป็นอย่างไร?" "แล้วทำไมน้ำถึงไปอยู่ในกระดาษชิชชู่?" เป็นการฝึกทักษะการสังเกตของเด็ก

ในขั้นตอนการทดลอง พิธีกรจะแจกอุปกรณ์ทำการทดลองให้กับเด็ก หลังจากแจกอุปกรณ์เสร็จแล้ว พิธีกรถามเด็กๆว่า "เราจะนำน้ำจากแก้วใบที่ 1 ไปอยู่ในแก้วใบที่ 2 อย่างไร" เด็กๆตอบว่า "ใช้กระดาษชิชชู่" พิธีกรจึงถามต่ออีกว่า "แล้วใช้กระดาษชิชชู่ทำอย่างไร" เป็นคำถามที่ชวนให้เด็กได้ลองคิด หลังจากนั้นจึงให้เด็กลงมือปฏิบัติในการทดลองครั้งนี้เอง โดยพิธีกรจะเป็นผู้คอยแนะนำเท่านั้น

เรามาดูความสนุกของการทดลองครั้งนี้ด้วยวีดีโอจากรายการนี้กันค่ะ ^__^








บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 15

สอบกลางภาคของมหาวิทยาลัย

สัปดาห์นี้เป็นการสอบกลางภาคของมหาวิทยาลัยค่ะ
วันที่ 10 เดือนตุลาคม พ.ศ.2557


วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 14

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 14

อบรมการเขียนแผนการจัดประสบการณ์

ในการอบรมครั้งนี้อาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรมยกตัวอย่างหน่วยการเรียนที่ตนเองสนใจพร้อมลองเขียนแผนการสอนคร่าวๆ ว่าจะเขียนในลักษณะใด

หน่วยมด



ประสบการณ์ที่เด็กจะได้รับคือ....

1.เรียนรู้เรื่องมดที่เป็นธรรมชาติหรือเป็นสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
2.แยกแยะชนิดของมด
3.เด็กได้สังเกตลักษณะของมด
4.หาความสัมพันธ์ความเหมือน ความต่างของมด โดยใช้ยูเนี่ยน
5.เด็กสำรวจและศึกษาลักษณะของมด
6.เด็กอธิบาย บอก จัดหมวดหมู่หรือบันทึก ประโยชน์และโทษเรื่องของมดได้

บูรณาการทักษะรายวิชา

คณิตศาสตร์ : การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ การวัด
วิทยาศาสตร์ : การสังเกต การจำแนก การทดลอง การลงความคิดเห็น
สังคมศึกษา : การทำงานร่วมกับผู้อื่น การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน
พลศึกษา/สุขศึกษา : ความสะอาด การดูแลตัวเอง
ศิลปะสร้างสรรค์ (กิจกรรมพิเศษ) : วาดภาพ ประดิษฐ์ ตัดปะ
ภาษา : การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 13

กิจกรรมกลุ่ม : ทำแผ่นพับการจัดหน่วยการเรียนรู้ที่ส่งถึงผู้ปกครอง







ความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม
1.ได้เทคนิคการเขียนคำพูดที่ใช้ในแผ่นพับว่าควรเขียนเป็นคำที่ง่ายๆ ไม่ควรเป็นคำที่ใช้เป็นทางการมา
2.เข้าในหลักในการเขียนเนื้อหาในแผ่นพับมากขึ้น
3.ได้เทคนิคในการจัดเกมส์การเล่นให้กับเด็กว่าผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเล่นเกมส์กับเด็กด้วย


หลักการใช้คำถามเพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์





บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 12

คาบเรียนนี้อาจารย์ได้ให้ส่งสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง แล้วเเยกประเภทการสอนว่าสิ่งประดิษฐ์นั้นสามารถนำไปสอนในเรื่องใด

สิ่งประดิษฐ์กลุ่มนี้สอนเรื่อง...เสียง



สิ่งประดิษฐ์กลุ่มนี้สอนเรื่อง...แรงลม



สิ่งประดิษฐ์กลุ่มนี้สอนเรื่อง...แรงดันน้ำ



สิ่งประดิษฐ์กลุ่มนี้สอนเรื่อง...แรงโน้มถ่วง



สิ่งประดิษฐ์นี้สอนเรื่อง...แรงและการเคลื่อนที่




กิจกรรมการทำอาหาร (cooking)
อาหารที่ได้ทำวันนี้คือ..วาฟเฟิล








เทคนิคการสอนทำอาหารให้กับเด็ก

1.การสอนเด็กให้ทำอาหารควรมีผู้ดูแลทุกโต๊ะ
2.ตั้งคำถามเพื่อฝึกการสังเกต เช่น เด็กๆลองดูสิคะว่าวันนี้เราจะมาทำอะไรกัน?
3.ตั้งคำถามเกี่ยวกับวัตถุดิบ เพื่อให้เด็กตอบว่าวัตถุดิบที่นำมานั้นสามารถทำอาหารอะไรได้บ้าง?
4.ครูบอกว่าวันนี้จะทำอาหารอะไร
5.ครูแบ่งวัตถุดิบแยกออกใส่ภาชนะไว้
6.ครูบอกขนาดวัตถุดิบที่จะทำอาหาร 
7.ให้เด็กลงมือปฏิบัติตามโต๊ะต่างๆ



นำเสนอวิจัยและความรู้จากรายการโทรทัศน์ครู

1.วิจัย : ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2
2.วิจัย : การพัฒนาชุดการสอนหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ ชั้นอนุบาล 2

3.วิจัย : ความสามารถในการวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการะบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
4.วิจัย : การพัฒนาทักษะพื้นฐานในการจัดกิจกรรมทำน้ำสมุนไพร
5.โทรทัศน์ครู : กิจกรรมส่องนกนอกห้องเรียน 
                          -เป็นการเรียนรู้จากธรรมชาตินอกห้องเรียน
                          -เรียนรู้ความแตกต่างของนก เช่น สี เสียง ที่อยู่อาศัย
                          -ได้ทักษะทางวิทยาศาสตร์คือ การสังเกต การจำแนกประเภท การลงความเห็นจากข้อมูล

6.โทรทัศน์ครู : สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์
                          -ให้เด็กแสดงบทบาทสมมติเป็นนักสืบ
                          -เด็กที่มีจิตวิทยาศาสตร์จะมีลักษณะช่างซักถาม ช่างสังเกต
                          -การส่งเสริมคือ จัดกิจกรรมให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง

7.โทรทัศน์ครู : จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย
                          -เป็นการสอนเรื่องเสียงจากสื่อ ไก่กระต๊าก พบว่าเสียงจะมีเสียงก้อง เสียงแหลม และเสียงเกิดจากอากาศในแก้วสั่นสะเทือน





บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 11

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 11

คาบเรียนนี้อาจารย์ได้ให้นำเสนอแผนการสอนเพิ่มเติม

หน่วยแปรงสีฟัน เรื่อง..ชนิดของแปรงสีฟัน


คำคล้องจองชนิดของแปรงสีฟัน

แปรงสีฟันมีหลายชนิด     แต่ละชนิดมีดีต่างกัน
แปรงสีฟันไฟฟ้านั้น          รวดเร็วพลันใช้ได้อย่างดี
แปรงสีฟันผู้ใหญ่ก็มี         สะอาดดีเมื่อเราแปรงฟัน


หน่วยผีเสื้อ เรื่อง..ลักษณะของผีเสื้อ

1.มีปีก 2 ข้าง
2.มีหนวด 2 ข้าง
3.มีลำตัวเป็นรูปวงรี
4.มีลายปีกที่แตกต่างกัน และมีหลายสี
5.มีตา 2 ข้าง

หน่วยกล้วย เรื่อง..ชนิดของกล้วย



ชนิดของกล้วย
1.กล้วยไข่
2.กล้วยน้ำว้า
3.กล้วยหอม
4.กล้วยตานี
5.กล้วยส้ม
ฯลฯ

กิจกรรมทำอาหาร (cooking)
อาหารที่ได้ทำวันนี้คือ..ทาโกยากิ








เทคนิคการสอนทำอาหารให้กับเด็ก

1.การสอนเด็กให้ทำอาหารควรมีผู้ดูแลทุกโต๊ะ
2.ตั้งคำถามเพื่อฝึกการสังเกต เช่น เด็กๆลองดูสิคะว่าวันนี้เราจะมาทำอะไรกัน?
3.ตั้งคำถามเกี่ยวกับวัตถุดิบ เพื่อให้เด็กตอบว่าวัตถุดิบที่นำมานั้นสามารถทำอาหารอะไรได้บ้าง?
4.ครูบอกว่าวันนี้จะทำอาหารอะไร
5.ครูแบ่งวัตถุดิบแยกออกใส่ภาชนะไว้
6.ครูบอกขนาดวัตถุดิบที่จะทำอาหาร 
7.ให้เด็กลงมือปฏิบัติตามโต๊ะต่างๆ เช่น เด็กประจำโต๊ะเติมเครื่องปรุง เติมไข่ เติมข้าว และเด็กประจำโต๊ะทอดทาโกยากิ


นำเสนอวิจัย

1.เรื่อง..การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา
2.เรื่อง..ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย
3.เรื่อง..ผลของการจัดประสบการณ์เสริมทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย